“องคมนตรีรับฟังการสรุป การบรรยายผลงานของนักศึกษาในการอบรม วิศวกรสังคม”

News

 

“องคมนตรีรับฟังการสรุป การบรรยายผลงานของนักศึกษาในการอบรม วิศวกรสังคม”
วันที่ 19 กันยายน 2563 พล.อ ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ร่วมสรุปและรับฟังผลการอบรม การนำเสนอของนักศึกษา และผู้บริหาร ในโครงการพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในการพัฒนาท้องถิ่น หรือ วิศวกรสังคม ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ในการนี้ ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เข้าร่วมรับฟังตัวแทนของผู้นำนักศึกษาทั้ง 7 กลุ่ม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง ได้นำเสนอผลการวางแผน การคิดวิเคราะห์ในกิจกรรม วิศวกรสังคม ซึ่งได้ที่รับโจทย์ในการนำความรู้เกี่ยวกับการอบรม วิศวกรสังคม ไปพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยหรือชุมชนได้อย่างไร ผ่านการคิด วิเคราะห์เชิงเหตุผล และขยายผลต่อยอด สื่อสารเผยแพร่ไปยังชุมชน ท้องถิ่น สังคม ของตน ดังนี้
📝กลุ่มภาคใต้ นำเสนอเกี่ยวกับการเพิ่มยอดมูลค่าทอฟฟี่ลดอาการอยากสูบบุหรี่ และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทอฟฟี่ นำรายได้สู่ในชุมชน ท้องถิ่น และส่งเสริมรณรงค์งดสูบบุหรี่ในสังคม โดยเริ่มต้นเผยแพร่ข้อมูลความรู้ที่ได้จากภายในมหาวิทยาลัยลงสู่ชุมชน
📝กลุ่มภาคอีสานตอนบน นำเสนอเรื่องการสร้างเครือข่าย วิศวกรสังคม ขยายพื้นที่สมาชิก การนำเสนอโครงการเกี่ยวกับการใช้สอยแปลงเกษตรลอยน้ำของพื้นที่จังหวัดมาพัฒนาต่อยอดบริหารจัดการ สื่อสารให้กับคนในชุมชน ให้มั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน
📝กลุ่มอีสานตอนใต้ นำเอาเครื่องมือผลผลิตต่อยอดเกี่ยวกับควายนม ที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาสานต่อ และเพิ่มมูลค่าให้กับชุมชนตามรูปแบบ ระบบของวิศวกรสังคม
📝กลุ่มภาคเหนือ นำเอาเครื่องมือ 4 ประการมาใช้เผยแพร่ว่าวิศวกรสังคมคืออะไร นำเอาข้อมูลนาฬิกาชีวิต การทำงานของชุมชน ยกตัวอย่าง โครงการพัฒนาคลองแม่ข่า ในการจัดการน้ำให้สะอาด มีสภาพที่ดีอย่างเป็นระบบ พัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
📝กลุ่มภาคตะวันตก นำเสนอเกี่ยวกับศูนย์กระจายสินค้าสู่ชุมชน จากผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มรายได้ให้ชุมชน และเป็นที่รู้จักให้มากยิ่งขึ้น
📝กลุ่มภาคกลาง นำกระบวนการที่ได้เรียนรู้จากการเข้าอบรมในครั้งนี้ ผ่านทักษะต่างๆ ไปเผยแพร่ ต่อยอดในชุมชน โดยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ดูแลสุขภาพชีวิตให้ดีขึ้น
📝กลุ่มรัตนโกสินทร์ นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องอาหารกลางวันในชนบทที่ไม่เพียงพอ โครงการเกษตรพอเพียง วิถีชุมชน (โรงเรียน) โดยทำงานร่วมกับชุมชน ท้องถิ่น และเครือข่ายกลุ่มราชภัฏ โดยวางแผนการเป็นรูปแบบ 1 ราชภัฏ 1 โรงเรียน โดยการนำเอาเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงมาต่อยอดในโครงการ และเกิดอาชีพ รายได้ให้ชุมชน และให้ชุมชนเป็นที่ตั้งแล้วมหาวิทยาลัยเข้าไปร่วมช่วยเหลือพัฒนา
…สามารถดูภาพเพิ่มเติมได้ที่⏩https://bit.ly/3iSGBhC